อาร์มรีด ตัวรีด ที่รีดติดผ้า ใช้ยังไง ???

Posted by staff 20/06/2019 0 Comment(s)

อาร์มรีด ตัวรีด ที่รีดติดผ้า ใช้ยังไง ???

มีคนถามกันเข้ามาม๊ากมาก เกียวกับวิธีการใช้วิธีตัวรีด วันนี้ก็เลยจะต้องมาไขข้อข้องใจกันสักหน่อย

อันดับแรกเราก็ต้องรู้จักประเภทของตัวรีดกันซะก่อน  ซึ่งตัวรีดของทางร้านเราก็จะมีอยู่ 2 แบบ คือ

1. ตัวรีดแบบปัก

2. ตัวรีดแบบเฟล็ก

 

ตัวรีดแบบปักตัวรีดแบบเฟล็ก

 

อุปกรณ์ / สิ่งที่เตรียม เบื้องต้น 

1. ตัวรีด / อาร์ม ที่เราซื้อมา  (พระเอกของงานนี้เลยนะ) 

2. เสื้อผ้า ที่เราต้องการจะติดอาร์ม 

3. เตารีด 

4. ผ้าขาวบาง / ผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าอะไรก็ได้ที่บางๆ เอาไว้รองตอนรีดจ๊ะ

 

เตารีดที่ใช้ไม่ควรจะเป็นเตารีดไอน้ำนะจ๊ะ เตือนด้วยความหวังดี ไม่ว่าจะรีดตัวรีดแบบไหน  *ไม่ควรใช้เตารีดไอน้ำ*

 

เมื่ออุปกรณ์พร้อมแล้ว ก็เริ่มลงมือกันโลดดดด 

  • ขั้นตอนที่ 1

อุ่นเตารีดไว้ ให้ค่อนข้างร้อน วิธีเช็คว่าร้อนพอหรือยัง คือ ลองเอาเตารีด รีดกับผ้าอะไรก็ได้ แล้วเอามือสัมผัสกับผ้าที่ถูกรีด ว่าร้อนพอมั้ย ระวังโดนมือด้วยนะ 

  • ขั้นตอนที่ 2

จัดวางเสื้อผ้าที่เราต้องการจะรีดอาร์มติดไว้ให้เรียบที่สุด เพื่อง่ายต่อการรีด และเมื่อรีดแล้วจะได้ไม่เป็นรอยย่น พร้อมกับเอา ตัวรีดมาจัดวางตัวแหน่งให้ตรงตามที่เราต้องการมากที่สุด 

  • ขั้นตอนที่ 3 

เอาผ้าขาวบางมาวางทับบนตัวรีดอีกที ก่อนจะรีด

  • ขั้นตอนที่ 4

ค่อยๆเอาเตารีดที่เราอุ่นไว้พร้อมใช้งานแล้ว รีดตัวรีดผ่านผ้าขาวบาง รอบที่ 1 รีดไปประมาณ 1 นาที (อาจจะแบ่ง รีด30วิ แล้วลองจับเบาๆว่ามันค่อนข้างติดหรือยัง แล้วรีดอีก 30 วิก็ได้)

 

ขั้นตอนที่ 4 ขึ้นอยู่กับเนื้อผ้าของเสื้อผ้าที่เราต้องการจะรีดด้วยนะจ๊ะ  ถ้าผ้าหนาก็อาจจะต้องเพิ่มระยะเวลา ในการรีดอีกสักนิด 

 

  • ขั้นตอนที่ 5 

เปิดผ้าขาวบางออก เช็คดูว่าที่รีดดีหรือยัง ถ้ายังก็รีดซ้ำจนกว่าจะติด 

  • ขั้นตอนที่ 6

กลับเสื้อผ้าที่เรารีด รีดผ่านด้านหลังอีกครั้งเพื่อความชัวร์อีก 1นาที ถึง 1นาทีครึ่ง

 

กรณี เป็นตัวรีดเฟล็ก ย้ำว่า ต้องรอให้เย็นแล้วค่อยลอกพลาสติดออกด้วยนะ 

 


เคล็ดลับเพิ่มอีกเล็กน้อย 

  • การซัก สามารถซักได้ตามปกติจะให้ดีที่สุดนั้นต้องซักมือ หรือจะใส่ตาข่ายซักผ้าแล้วลงไปปั่นในเครื่องซักผ้า
  • สำหรับวัสดุที่เป็นหนัง แนะนำให้ใช้กาวอเนกประสงค์ (ปืนกาว กาวตราช้าง กาวuhuหลอดเหลือง กาวb6000) ในการติด
  • ตัวรีดทุกตัวสามารถเย็บขอบหรือเย็บมุมเพิ่มได้เพื่อความคงทนในการใช้งาน           

 

 

ตัวอย่างงานรีด แบบปักตัวอย่างงานรีด แบบเฟล็ก